วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร


                วัดบวรนิเวศวิหารเป็นวัดชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร บางลำภู กรุงเทพฯ แต่เดิมวัดนี้เป็นวัดใหม่อยุ่ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ต่อมาได้รวมเข้าเป็น วัดเดียวกัน โดยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างขั้นใหม่ วัดนี้ ได้รับการทะนุบำรุง และสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้นจนเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง โดยเฉพาะในสมัย ปลายรัชกาลที่ ๓ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอาราธนา สมเด็จพระ อนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งผนวชเป็นพระภิกษุ อยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) เสด็จมาครอง เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๕ ทำให้วัดนี้ได้รับการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ และเสริมสร้างสิ่งต่างๆขึ้น
            เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชาคณะเสด็จประทับที่วัดนี้แล้วทรง บูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างถาวรวัตถุต่างๆเพิ่มเติมขึ้นหลายอย่าง พร้อมทั้งได้รับพระราชทาน ตำหนักจากรัชกาลที่ ๓ ด้วย ในสมัยต่อมาวัดนี้ เป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรง ผนวชหลายพระองค์ เช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน จึงทำให้วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุงให้คงสภาพดีอยู่เสมอ ในปัจจุบัน นี้ ศิลปกรรมโบราณวัตถุ และ ศิลปวัตถุ หลายสิ่งหลายอย่างอยู่ในสภาพดีพอที่จะชม และ ศึกษาได้ เป็นจำนวนไม่น้อย




           วัดบวรนิเวศวิหารนี้มีศิลปกรรม และถาวรวัตถุที่มีค่าควรแก่การศึกษาไม่น้อย แบ่งออกเป็น ศิลปกรรมในเขตพุทธาวาสและศิลปกรรมในเขตสังฆวาส เขตทั้งสองนี้ถูกแบ่งโดย กำแพง และ คูน้ำมีสะพานเชื่อมถึงกันเดินข้ามไปมาได้สะดวก ศิลปกรรมที่สำคัญ ของวัดนี้ที่น่า สนใจ มีดังนี้
ศิลปกรรมในเขตพุทธาวาสที่สำคัญเริ่มจากพระอุโบสถซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สร้างวัดในรัชกาลที่ ๓ แต่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมต่อมาอีกหลายครั้ง รูปแบบของพระอุโบสถ ที่สร้างตามแบบ พระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีมุขหน้ายื่นออกมา เป็นพระอุโบสถและมีปีกยื่นออก ซ้ายขวา เป็นวิหารมุขหน้าที่เป็นพระอุโบสถมีเสาเหลี่ยมมีพาไลรอบซุ้มประต?หน้าต่าง และ หน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้นพระอุโบสถหลังนี้ได้รับการบูรณะในสมัย รัชกาลที่ ๔ โดย โปรดฯ ให้มุงกระเบื้องเคลือบลูกฟูก ประดับ ลายหน้าบันด้วยกระเบื้องเคลือบสี และโปรดฯให้ ขรัวอินโข่งเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภายในพระอุโบสถ ส่วนภายนอกได้รับการบูรณะ บุผนัง ด้วยหินอ่อนทั้งหมด เสาด้านหน้าเป็นเสาเหลื่ยมมีบัวหัวเสาเป็นลายฝรั่ง ซุ้มประตูหน้าต่างปิด ทองประดับกระจก ด้านหน้ามีใบเสมารุ่นเก่าสมัยอู่ทองทำด้วยหินทรายแดงนำมาจากวัดวังเก่า เพชรบุรี ส่วนใบเสมาอื่นทำแปลกคือติดไว้กับผนังพระอุโบสถแทน การตั้งไว้บนลานรอบ พระอุโบสถ หลังพระอุโบสถเป็นเจดีย์กลทสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาได้หุ้มกระเบื้องสีทอง ใน รัชกาลปัจจุบันพระอุโบสถหลังนี้มีรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะต่างไปจากพระอุโบสถทั่วไป เพราะเป็นการผสมกันระหว่างศิลปะแบบพระราชนิยมของรัชกาลที่ ๓ ซึ่งกระเดียดไปทาง ศิลปะจึนและศิลปะแบบรัชกาล ที่ ๔ ซึ่งเป็นศิลปะที่มีอิทธิพลฝรั่ง จึงทำให้พระอุโบสถหลังนี้ีมีลักษณะผสมของอิทธิพลศิลปะต่างชาติทั้งสองแบบ แต่ทั้งหมดตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของศิลปะ ไทย เมื่อโดยรวมแล้วพระอุโบสถหลังนี้ มีเอกลักษณ์เฉพาะตนที่งดงามแปลกตาไม่น้อยทีเดียว ศิลปกรรมภายในพระอุโบสถ นอกเหนือไปจากพระพุทธรูปแล้วก็มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้ขรัวอินโข่งเขียนขึ้น เป็นงานจิตรกรรม ฝาผนัง ที่มีค่ายิ่ง เพราะเป็นรูปแบบของ จิตรกรรมหัวเลี้ยวหัวต่อของการรับอิทธิพลยุโรป หรือ ฝรั่งเข้า มาผสมผสานกับแนวคิดตามขนบนิยมของไทย ภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้ สันนิษฐานว่าเขียน ตั้งแต่สมัยที่ พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏฯเข้าครองวัด โดยเขียนบนผนังเหนือ ประตูหน้าต่าง ขึ้นไป มีอยู่ ๑๖ ตอน เริ่มต้นจากทางหลังของผนังด้านซ้ายทางทิศตะวันตก นับเป็น ผนังที่ ๑ วนทักษิณาวัตพระพุทธรูปในพระอุโบสถตามลำดับ มีคำจารึก พรรณาเขียน ไว้ที่ช่องประตู หน้าต่างรวม ๑๖ บาน



          นอกจากภาพจิตรกรรมฝาผนังแล้วที่เสาพระอุโบสถเขียนภาพแสดงปริศนาธรรมเปรียบด้วย น้ำใจคน ๖ ประเภทเรียกว่า ฉฬาภิชาติ ด้วย ภายในพระอุโบสถนี้ มีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ ๒ องค์ คือ พระประธานเป็นพระพุทธรูปหล่อ โลหะขนาดใหญ่หน้าพระเพลากว้าง ๙ ศอก ๑๒ นิ้ว กรมพระราชวังบวรฯ ผู้สร้างวัดได้ทรง อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน เพชรบุรี โดยรื้อออกเป็น ท่อนๆ แล้วนำมาประกอบขึ้นใหม่ สันนิษฐานว่าเดิมเป็นพระทวาราวดี พระศกเดิมโต พระยาชำนิหัตถการ นายช่างกรม พระราชวังบวรฯ เลาะออกทำพระศกใหม่ด้วยดินเผาให้เล็กลง ลงรักปิดทองมีพระสาวกใหญ่ นั่งคู่หนึ่งเป็นพระปั้นหน้าตัก ๒ ศอก




          ส่วนพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งคือ พระพุทธชินสีห์ ซึ่งอัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตน มหาธาตุ พิษณุโลก โดยอัญเชิญมาทั้งองค์เมื่อฤดูน้ำปี พ.ศ.๒๓๗๓ และ ในปีต่อมาได้ปิดทอง กาไหล่ พระรัศมี ฝังพระเนตรใหม่ และตัดพระอุณาโลม พระพุทธรูปองค์ นี้ เป็นพระพุทธรูป ที่งดงามอย่างยิ่ง องค์หนึ่ง ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลม ขนาดใหญ่สร้างสมัยรัชกาลที่ ๔ หุ้มกระเบื้องสีทอง ในรัชกาลปัจจุบัน รอบฐานพระเจดีย์มี ศาลาจีนและซุ้มจีน หลังเจดีย์ออกไปเป็นวิหารเก๋งจีน ข้างในมีภาพเขียน ฝีมือช่างจีน เทคนิค และฝีมืออยู่ในเกณฑ์ดี



          ถัดเก๋งจีนเป็น วิหารพระศาสดา เป็นวิหารใหญ่แบ่งเป็น ๒ ห้อง ด้านหลัง เป็นพระพุทธไสยาสน์ สมัยสุโขทัย ฝาผนังมีจิตรกรรมเรื่องพระพุทธประวัติและชาดก ด้านหน้าประดิษฐานพระศาสดา รัชกาลที่ ๔ โปรดฯให้อัญเชิญมาจากวัดสุทัศน์เทพวราราม          ในบริเวณพุทธาวาสนั้นมีศิลปกรรมน่าสนใจอีกหลายอย่างเช่น พระพุทธบาทจำลอง ซึ่งเป็น พระ พุทธบาทโบราณสมัยสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ในศาลาข้าง พระอุโบสถพลับพลา เปลื้อง เครื่อง สร้างเป็นเครื่องแสดงว่าวัด นี้รับพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตรา ที่พระเจ้าแผ่นดิน เสด็จ เปลื้องเครื่องทรงในศาลานี้ก่อนเสด็จเข้าวัด
          นอกจากนี้ที่ซุ้มประตูด้านหน้าพระอุโบสถบานประตูมีรูปเซี่ยวกาง แกะสลักปิดทอง เป็นฝีมือ ช่างงดงามทีเดียว



          ตำหนักจันทร์ เป็นตำหนักที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยทรัพย์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจันทราสรัทธาวาส กรมขุน พิจิตเจษฐฃฏาจันทร์ถวายเป็นที่ประทับของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส ในบริเวณตำหนักจันทร์ด้าน ทิศตะวันออกติดกับรั้วเหล็กมีศาลาเล็กๆ มีพาไล ๒ ด้าน ฝาล่องถุนก่ออิฐถือปูนโถงเป็นเครื่องไม้ หลังคามุงกระเบื้อง ศาลาหลังนี้เดิมเป็นพลับพลา ที่ ประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง สร้างไว้ในสวนพระราชวังเดิม โปรดให้ย้ายมาปลูกไว้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ ในกลุ่มพระตำหนัก นี้ ยังมี พระตำหนักเพชร อีกตำหนักหนึ่งอยู่ขวามือเมื่อเข้าจากหน้าวัด เป็นตำหนัก สองชั้นแบบ ฝรั่ง มุขหน้าประดับด้วยลวดลายไม้ฉลุงดงาม ตำหนักนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงสร้างถวายเป็นท้องพระโรง ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส อย่างไรก็ตามศิลปกรรมและถาวรวัตถุของวัดบวรนิเวศวิหารยังมีอีกหลายอย่างส่วนใหญ่ ยังคงอยู่ ในสภาพดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น