วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

วัดอินทรวิหาร

วัดอินทรวิหาร


           วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง เป็นวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายประมาณปี พ.ศ. 2295 ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง อุโบสถแต่เดิมแบบเตาเผาปูน กุฏิฝากระแชงอ่อน เดิมชื่อ "วัดไร่พริก" เพราะเป็นวัดที่ปลูกอยู่ใกล้สวนผักของชาวจีน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดบางขุนพรหม" ตามชื่อของหมู่บ้านซึ่งมีขุนพรหมเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน
           

            ต่อมา สมัยกรุงธนบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2321 พระเจ้าสิริบุญสารผู้ครองนครศรีสัตนาคนหุต ได้ยกกองทัพรุกรานมาถึงบ้านดอนมดแกง (จังหวัดอุบลราชธานี – ปัจจุบัน) ได้จับพระลอ ผู้ซึ่งสวามิภักดิ์ในพระบรมโพธิสมภาพของพระเจ้ากรุงธนบุรี แล้วทำการประหารเสีย มื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบก็ทรงขัดเคองพระทัย จึงโปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพพร้อมด้วยพระสุรสีห์กรีฑาทัพขึ้นไปปราบปรามและสามารถตีเมืองเวียงจันทน์แตก ส่วนพระเจ้าสิริบุญสารได้ลี้ภัยไปอาศัยในแดนญวน ภายหลังเสร็จศึกสคราม สมเด้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้นำตัวเจ้าอินทวงศ์ โอรสในพระเจ้าสิริยุญสารลงมากรุงธนบุรีด้วย และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอินทวงศ์และคณะพำนักตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ ณ บริเวณตำบลไร่พริก (แขวงบางขุนพรหม – ปัจจุบัน) เจ้าอินทวงศ์มีศักดิ์เป็นน้าชายของเจ้าน้อยเขียว เจ้าเมืองเวียงจันทน์ ธิดาคนหนึ่งของเจ้าอินทวงศ์นามว่า เจ้าทองสุก กับเจ้าน้อยเขียว ได้เป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
           

            ต่อมาเจ้าอินทวงศ์ได้มีศรัทธาดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์เปลี่ยนแปลงรูปทรงอุโบส ก่ออิฐถือปูนเป็นแบบที่ยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้ และสร้างศาลาพร้อมกับขุดคลองเหนือใต้และด้านหลังวัด เมื่ออารามมีความมั่นคงดีแล้ว จึงอาราธนาท่านเจ้าคุณอรัญญิกเถร (ด้วง) ผู้เรืองในวิปัสสนาธุระและใจดีมาช่วยเป็นภาระธุระในกิจการของสงฆ์ และถือเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกที่มีหลักฐานปรากฏยืนยัน
           ในแผ่นดินรัชกาลที่ 3 พระองค์เจ้าอินทร์ ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถซึ่งยังคงปรากฏมาจนปัจจุบัน ครั้นถึงแผ่นดินในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนผ่านกลางวัดบางขุนพรหม วัดบางขุนพรหม จึงกลายเป็น 2 วัดคือวัดบางขุนพรหมนอก (วัดใหม่อมตรส – ปัจจุบัน) และวัดบางขุนพรหมใน (วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง – ปัจจุบัน) เนื่องจากอยู่ภายในเขตวังเทวะเวสม์ที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ (จึงเรียกชื่อว่า "วัดบางขุนพรหมใน") 


พระศรีอริยเมตไตรย์ หรือ หลวงพ่อโต


พระครูธรรมานุกูล หรือ หลวงปู่ภู จันทสโร วัดอินทรวิหาร เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร

พระครูธรรมานุกูล นามเดิมชื่อว่า ภู เกิดที่หมู่บ้านตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ ตรงกับปีขาลโดยบิดามีนามว่า นายคง โยมมารดามีนามว่า นางอยู่ พออายุได้ ๙ขวบ บิดามารดาได้พาไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดท่าคอย ได้ศึกษาเล่าเรียกอักขระสมัย (ภาษาขอม) และหนังสือไทย กับท่านอาจารย์ วัดท่าแคจนกระทั่งอายุได้ ๒๑ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ณ พัทธสีมา วัดท่าคอย โดยมี พระอาจารย์อ้น วัดท่าคอย เป็นพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์คำ วัดท่าแค เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์คำ วัดท่าแค เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มา วัดน้ำหัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายานามทางพระว่า "จนฺทสโร"
เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษาอยู่ สำนักวัดท่าแคชั่วระยะหนึ่งก็ได้ออกเดินธุดงค์ จากจังหวัดตากมาพร้อมกับพระพี่ชาย คือ หลวงปู่ใหญ่
สำหรับวัดท่าแค ในสมัยที่หลวงปู่ภูจำพรรษาอยู่ นั้นยังเป็นวัดเล็กๆ เข้าใจว่าโบสถ์ยังไม่ได้สร้างท่านจึงได้มาอุปสมบท ที่วัดท่าคอยแล้วกลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเดิมอีก ปัจจุบันวัดท่าแคนี้ตั้งอยู่ตรงเชิงสะพานกิตติขจรฝั่งตัวจังหวัดตากตำบล เชียงเงิน อำเภอเมือง ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดชนะสงคราม
ในสมัยที่หลวงปู่ภูเดิมธุดงค์มากรุงเทพฯ ครั้งแรก ท่านได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ได้มาปักกลดอยู่ ณ บริเวณที่ตั้งวังบางขุนพรหม (ธนาคารแห่งประเทศไทย) สมัยนั้นพื้นที่บริเวณนั้นยังเป็นป่ารกร้างว่างเปล่าและเปลี่ยวมาก มีแต่ต้นรังต้นตาลที่ขึ้นระเกะระกะไปหมด นอกจากนี้ยังมีทางเกวียนทางเท้าเป็นช่องเล็กๆ พอเดินไปได้เท่านั้น ท่านได้มาปักกลดอยู่บริเวณชายแม่น้ำเจ้าพระยา พอตกกลางคืนได้นิมิตฝันไปว่า ได้มีคนนำเอาตราแผ่นดินมามอบถวายให้ท่าน ๓ ดวง เมื่อท่านตื่นขึ้นมาก็ได้พิจารณาถึงนิมิตนั้นพอจะทราบว่า ท่านเองจะมีอายุยืนยาวถึง ๑๐๓ ปีเศษ
การเดินธุดงค์ของหลวงปู่นับตั้งแต่เดินทางออกมาจากวัดท่าแคเข้าจำพรรษาที่วัดในกรุงเทพฯ สันนิษฐานจากคำบอกเล่าของท่านที่ได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศฯ ได้ช่วยชีวิตรักษาคนป่วย เป็นอหิวาตกโรคไว้ ๖ คนซึ่งยุคนั้นถือว่าอหิวาตกโรคร้ายแรงมาก ยังไม่มียาจะรักษาถ้าใครเป็นมีหวังตายลูกเดียว และในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ซึ่งเป็นปีที่อหิวาตกโรคระบาดหนัก จนเป็นที่กล่าวขวัญเรียกกันจนติดปากว่า "ปีระกาห่าใหญ่"
ต่อมาท่านได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดสามปลื้ม ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดจักรวรรดิ์ราชาวาสและได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) ตามลำดับ
กาลต่อมาได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอินทาราม ซึ่งในสมัยนั้นยังใช้ชื่อวัดบางขุนพรหมนอก ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ และได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ส่วนสมณศักดิ์ที่หลวงปู่ได้รับไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้รับตำแหน่งในปีใด เข้าใจว่าได้รับก่อนปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เพราะตามหลักฐาน ศิลาจารึกเกี่ยวกับการสร้าง พระศรีอริยเมตไตรย์ มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า
ถึง พ.ศ. ๒๔๖๓ ท่านพระครูธรรมานุกูล (ภู) ผู้ชราภาพอายุ ๙๑ ปี พรรษาที่ ๗๐ ได้ยกเป็นกิตติมศักดิ์อยู่ในวัดอินทรวิหาร ท่านจึงได้มอบฉันทะ ให้พระครูสังฆบริบาล ปฏิสังขรณ์ต่อมาจนสำเร็จ
ท่านได้มรณภาพลงเมื่อ วันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำเดือน ๖ ปีระกา เวลา ๐๑.๑๕ น. รวมสิริอายุได้ ๑๐๔ ปี ๘๓ พรรษา นับว่าท่านได้ยกเป็นพระครูกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ จนถึงวันมรณภาพเป็นเวลา ๑๓ ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น