วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วัดระฆังโฆสิตาราม


วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร


      พระประธานยิ้มรับฟ้า เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ ๔ ศอกเศษ เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก ๓ องค์ นั่งประนมมือดุจรับพระพุทธโอวาท พระประธานองค์นี้ได้รับการ ยกย่องว่างดงามมาก 

     
         พระพุทธรูปพระประธานวัดระฆังฯองค์นี้  มี "ตำนาน" สำคัญที่เล่าขานกันมาอยู่ว่าครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดระฆังโฆสิตาราม  มีพระราชดำรัสว่า "ไปวัดไหนไม่เหมือนมาวัดระฆังฯ พอเข้าประตูโบสถ์พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที"  กับทั้งยังได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์ และมหาปรมาภรณ์ช้างเผือกแด่พระประธาน เป็นเครื่องหมายแห่งความพอพระราชหฤทัยพระพุทธรูปองค์นี้ไม่มีนามเฉพาะ แต่สืบเนื่องจากเรื่องราวดังกล่าวก็ทำให้มีผู้ขนานนามว่า "พระประธานยิ้มรับฟ้า"
        วัดระฆังฯเป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา  เดิมชื่อวัดบางว้าใหญ่หรือบางหว้าใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปฏิัสังขรณ์และยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงด้วยอยู่ใกล้กับพระราชวัง (คือพระราชวังเดิมปัจจุบัน) ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี(สา) พระเชษฐภคินี(พี่สาว) ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ  ในครั้งนั้นได้ขุดพบระฆังใบหนึ่งมีเสียงไพเราะมาก  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงขอไปไว้ยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังมาชดเชยให้ ๕ ใบ ด้วยเหตุนี้จึงพระราชทานชื่อวัดว่า วัดระฆังโฆสิตาราม  วัดระฆังนับเป็นวัดที่มีความสำคัญสืบเนื่องจากกรุงธนบุรีมาจนกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกประชวรใกล้เสด็จสวรรคต มีพระราชดำรัสสั่งให้นำพระเศวตรฉัตรที่กั้นพระบรมโกศไปถวายพระประธานวัดระฆัง
        แต่พระประธานองค์ที่ได้รับพระราชทานพระเศวตรฉัตรนั้นเป็นคนละองค์กับพระประธานยิ้มรับฟ้าองค์ปัจจุบัน  เดิมพระประธานของวัดระฆังฯเป็นพระพุทธรูปศิลาองค์เล็ก เมื่อมีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดระฆังครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างพระอุโบสถใหม่ประดิษฐานพระประธานองค์ใหม่  แล้วโปรดให้นำพระเศวตรฉัตรที่กั้นพระประธานในพระอุโบสถเก่ามากั้นถวายพระประธานองค์ใหม่ด้วย  ส่วนพระประธานองค์เก่าภายหลังได้มีการพอกปูนให้มีขนาดใหญ่ขึ้นขึ้น ประดิษฐานไว้ในพระวิหารก็คือพระอุโบสถหลังเดิม



       พระปรางค์องค์ใหญ่ รัชกาลที่ ๑ ทรงมีพระราชศรัทธาสร้างพระปรางค์ พระราชทานร่วม  กุศลกับสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ (สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระยาเทพสุดาวดี พระนามเดิม สา) ตั้งอยู่หน้าพระวิหาร ได้รับการยกย่องจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ว่า เป็นพระปรางค์ที่ทำถูกแบบที่สุดในประเทศไทย พระปรางค์องค์นี้จัดเป็นพระปรางค์แบบ สถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ยุคต้น ที่มีทรวดทรงงดงามมาก จนยึดถือเป็นแบบฉบับของพระปรางค์ที่สร้างในยุคต่อมา





วิหารสมเด็จ ซึ่งมีรูปหล่อของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และพระราชาคณะอีกสองรูปประดิษฐานอยู่

    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น